ปฏิวัติกฎหมาย รื้อใบอนุญาต 7,000 ฉบับ ภารกิจประยุทธ์ อยู่ครบวาระ
ปี 2565 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีกลไกราชการเป็นลูกสูบขับเคลื่อนเรือแป๊ะ เตรียมปฏิวัติ-รื้อล้างกฎหมายล้าหลัง-ฉุดรั้งประเทศ ทะลวงกระบวนการ ขั้นตอนการขออนุมัติ-อนุญาตทั่วทั้งท่อ
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเล่าที่มา-ที่ไปของความกล้าหาญทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่อยู่โยงเป็นประมุขตึกไทยคู่ฟ้า ใกล้เทียบเท่า “ป๋าเปรม” พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ว่า
มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 เป็นการปักหมุด-ออกสตาร์ต เพื่อนับ 1 ทบทวน-แก้ไขกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อกำหนดที่ล้าสมัย-ไม่ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลง-หมุนเร็ว เป็นภาระกับประชาชน
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กว่า 7,000 ฉบับ ล้าสมัย-ไม่ทันปัจจุบันจะถูกทบทวนทั้งหมด เช่น ขั้นตอนการยื่นเอกสาร การเก็บค่าธรรมเนียม
“ปกรณ์ นิลประพันธ์” หัวหอก
อาณัติจาก พล.อ.ประยุทธ์-ครม.เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 เป็นประกาศิตให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในยุคที่มี “ปกรณ์ นิลประพันธ์” ศิษย์ก้นกุฏิ “มีชัย ฤชุพันธุ์”-ทายาทเนติบริกร “วิษณุ เครืองาม” เลขาธิการกฤษฎีกา เป็น “หัวหอก”
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า กรณีเป็นกฎหมายแม่บทในระดับ พ.ร.บ. เริ่มตั้งแต่ พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 กำหนดให้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุก 5 ปี
หรือปี’67-68 ต้องทบทวน 1 ครั้ง เพื่อทบทวนกฎหมายแม่บทระดับ พ.ร.บ.เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 (ค) ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายให้เกิดผล
โดยเฉพาะ (1) มีกลไกให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 และพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักสากล
โดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตและระบบการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัว
โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
“ครม.เห็นว่า กฎหมายแม่บทมีกลไกรองรับแล้ว แต่ลูกบทยังไม่ชัดเจน ซึ่งต้องประเมินผลสัมฤทธิ์กฎหมายลูกบทระดับกฎกระทรวงด้วย”
เมื่อกฎหมายลูกบท ต้องทบทวนไปพร้อมกับกฎหมายแม่บท ครม.เห็นว่า “ไม่ทันใจ” และอาจมีบางประเด็นที่มีความสำคัญเร่งด่วน จึงมีมติ ครม.ให้ทบทวนทั้งหมด โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวางกรอบแนวทางเป็นมาตรฐานกลาง
ส่งหนังสือเวียน 500 หน่วยงาน
จาก “จุดเริ่มต้น” ในที่ประชุม ครม. สู่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมี “คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย” รับไม้ต่อ เพื่อทบทวนกฎหมายทั้งระบบ อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น
และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต-การประกอบอาชีพ โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งหนังสือเวียนไปยัง 20 กระทรวง และหน่วยงานในสังกัด กรม กองต่าง ๆ หน่วยงานไม่สังกัดกระทรวง 48 หน่วยงานเช่น
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบกฎหมาย (ก.พ.ร.) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รวมถึงหน่วยงานในสังคม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รวมทั้งหมดประมาณ 500 หน่วยงาน
“มุ่งเน้นไปที่การทบทวนกฎหมายที่เป็นภาระกับประชาชน กฎกระทรวงยิ่งกว่าแม่บท เป็นตัวร้าย และตัวร้ายอีกตัวคือ ประกาศ ระเบียบ กรณีไม่ใช่ส่วนราชการ เช่น ธปท. ก.ล.ต. คปภ. ต้องทบทวนด้วย”
จับตาหน่วยงาน Nonactive
สำหรับขั้นตอนการทบทวนกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อกำหนด ทุกกระทรวงและหน่วยงาน หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ อาทิ ธปท. ก.ล.ต. คปภ. จะต้องกรอกข้อมูลรายงานการทบทวน 10 ประเด็น
โดยเฉพาะข้อสุดท้ายให้ขมวดว่า มีข้อจะเสนอให้ยกเลิก หรือแก้ไขปรับปรุงประเด็นใดหรือไม่ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีกองกฎหมายด้านต่าง ๆ คอยคัดกรองประเด็นการแก้ไข-ทบทวนและส่งต่อไปยังหน่วยงานนั้นให้เริ่มนับ 1 เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติต่อไป
หลังจากหน่วยงานรายงานทบทวนกฎกระทรวงแล้ว บางฉบับสามารถเสนอแก้ไขปรับปรุงตามลำดับชั้นได้ทันที ผ่านรัฐมนตรีลงนามเสนอ ครม. เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติจริง บรรลุผลเป้าหมายสุดท้าย
คือ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีประเด็นต้องทบทวนกฎหมายมากน้อยไม่เท่ากัน รวมถึงศักยภาพของหน่วยงาน จึงไม่กำหนดเวลา
เมื่อกฎหมายลูกบท ต้องทบทวนไปพร้อมกับกฎหมายแม่บท ครม.เห็นว่า “ไม่ทันใจ” และอาจมีบางประเด็นที่มีความสำคัญเร่งด่วน จึงมีมติ ครม.ให้ทบทวนทั้งหมด โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวางกรอบแนวทางเป็นมาตรฐานกลาง
ส่งหนังสือเวียน 500 หน่วยงาน
จาก “จุดเริ่มต้น” ในที่ประชุม ครม. สู่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมี “คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย” รับไม้ต่อ เพื่อทบทวนกฎหมายทั้งระบบ อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น
และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต-การประกอบอาชีพ โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งหนังสือเวียนไปยัง 20 กระทรวง และหน่วยงานในสังกัด กรม กองต่าง ๆ หน่วยงานไม่สังกัดกระทรวง 48 หน่วยงานเช่น
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบกฎหมาย (ก.พ.ร.) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รวมถึงหน่วยงานในสังคม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รวมทั้งหมดประมาณ 500 หน่วยงาน
“มุ่งเน้นไปที่การทบทวนกฎหมายที่เป็นภาระกับประชาชน กฎกระทรวงยิ่งกว่าแม่บท เป็นตัวร้าย และตัวร้ายอีกตัวคือ ประกาศ ระเบียบ กรณีไม่ใช่ส่วนราชการ เช่น ธปท. ก.ล.ต. คปภ. ต้องทบทวนด้วย”
จับตาหน่วยงาน Nonactive
สำหรับขั้นตอนการทบทวนกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อกำหนด ทุกกระทรวงและหน่วยงาน หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการ อาทิ ธปท. ก.ล.ต. คปภ. จะต้องกรอกข้อมูลรายงานการทบทวน 10 ประเด็น
โดยเฉพาะข้อสุดท้ายให้ขมวดว่า มีข้อจะเสนอให้ยกเลิก หรือแก้ไขปรับปรุงประเด็นใดหรือไม่ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีกองกฎหมายด้านต่าง ๆ คอยคัดกรองประเด็นการแก้ไข-ทบทวนและส่งต่อไปยังหน่วยงานนั้นให้เริ่มนับ 1 เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติต่อไป
หลังจากหน่วยงานรายงานทบทวนกฎกระทรวงแล้ว บางฉบับสามารถเสนอแก้ไขปรับปรุงตามลำดับชั้นได้ทันที ผ่านรัฐมนตรีลงนามเสนอ ครม. เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติจริง บรรลุผลเป้าหมายสุดท้าย
คือ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีประเด็นต้องทบทวนกฎหมายมากน้อยไม่เท่ากัน รวมถึงศักยภาพของหน่วยงาน จึงไม่กำหนดเวลา