วิกฤตคอนเทนเนอร์ยังไม่จบ อุปสรรคใหญ่เมื่อการค้าโลกบูม

การค้าระหว่างประเทศกำลังฟื้นตัวและแข็งแกร่งมากขึ้นตามลำดับ ส่งสัญญาณน่ายินดีไปยังผู้ผลิตเพื่อส่งออก รวมทั้งเศรษฐกิจโลก

 

แต่แล้วอุปสรรคสำคัญก็ปรากฏ ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา และยิ่งชัดเจนมากขึ้นในขณะนี้ ถึงขั้นที่หลายคนบอกว่านี่คือวิกฤตในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในหลายประเทศ และดิสรัปต์พื้นฐานการค้าระหว่างประเทศอย่างสำคัญ
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

ภาวะขาดแคลนคอนเทนเนอร์ เห็นได้ชัดเจนจากการขึ้นค่าระวางขนส่งเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา จากเดิมซึ่งอยู่ที่ราว 1,500 ดอลลาร์ ต่อตู้คอนเทนเนอร์ เป็นระหว่าง 6,000-9,000 ดอลลาร์ต่อตู้

เส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าสายฟาร์อีสต์-ยุโรป ในเวลานี้ คิดค่าระวางขนส่งสูงถึงกว่า 9,000 ดอลลาร์ต่อตู้ ขณะที่การขนส่งสายทรานส์แอตแลนติก กับทรานส์แปซิฟิก ก็เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ยังส่งผลให้ผู้ผลิตตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ขึ้นราคาตามไปด้วย ผู้ผลิตในจีนซึ่งครองตลาดในอุตสาหกรรมผลิตตู้คอนเทนเนอร์ของโลกอยู่ในเวลานี้ ปรับราคาจาก 1,600 ดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว ขึ้นมาเป็น 2,500 ดอลลาร์ต่อตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ 1 ตู้

 

เช่นเดียวกัน ในช่วง 6 เดือนหลังมานี้ ต้นทุนในการ “เช่า” ตู้คอนเทนเนอร์ ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 50%

ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงระบุว่า วิกฤตคอนเทนเนอร์ครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุหลัก ๆ 4 ประการ ทั้งหมดล้วนเป็นผลกระทบจากโควิด ที่ทำให้การค้าโลกถึงกับชะงักงันเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นสำคัญ

ผลกระทบจากการระบาดทำให้จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่พร้อมใช้มีน้อยลง ประการถัดมา คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดสินค้าตกค้างอยู่ตามท่าเรือปลายทางจนแออัด เพราะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ทั้งแรงงานประจำท่าเรือ, แรงงานประจำคลังสินค้า แม้แต่เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรก็ได้รับผลกระทบ ถูกระงับการทำงานไปเป็นจำนวนมาก ประการที่สาม จำนวนเรือขนส่งสินค้ามีจำนวนลดน้อยลง

 

ประการสุดท้าย เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว เมื่อผู้คนในตลาดสำคัญ ๆ ของโลก อย่างสหรัฐและจีน เริ่มคลายกังวลกับการระบาด ความต้องการสินค้าก็พุ่งสูงขึ้น อาการแย่งชิงคอนเทนเนอร์ระหว่างผู้ส่งออกเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงระบุว่า วิกฤตคอนเทนเนอร์ครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุหลัก ๆ 4 ประการ ทั้งหมดล้วนเป็นผลกระทบจากโควิด ที่ทำให้การค้าโลกถึงกับชะงักงันเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นสำคัญ

ผลกระทบจากการระบาดทำให้จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่พร้อมใช้มีน้อยลง ประการถัดมา คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดสินค้าตกค้างอยู่ตามท่าเรือปลายทางจนแออัด เพราะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ทั้งแรงงานประจำท่าเรือ, แรงงานประจำคลังสินค้า แม้แต่เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรก็ได้รับผลกระทบ ถูกระงับการทำงานไปเป็นจำนวนมาก ประการที่สาม จำนวนเรือขนส่งสินค้ามีจำนวนลดน้อยลง

 

ประการสุดท้าย เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว เมื่อผู้คนในตลาดสำคัญ ๆ ของโลก อย่างสหรัฐและจีน เริ่มคลายกังวลกับการระบาด ความต้องการสินค้าก็พุ่งสูงขึ้น อาการแย่งชิงคอนเทนเนอร์ระหว่างผู้ส่งออกเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ผู้ส่งออกหลายรายระบุ การขึ้นค่าระวางขนส่ง มีผลถึงกับทำให้ผู้ผลิตสิ่งทอในเอเชียต้องปิดโรงงานเป็นจำนวนมาก

ขณะที่ฟิลิปปินส์ บริษัทฟู้ดแอนด์เบเวอเรจแห่งหนึ่งโอดครวญว่า สินค้าสำหรับการส่งออกค้างอยู่ที่ท่าเรือรอขนถ่ายใส่ตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นเรือเป็นจำนวนมาก กระบวนการที่เคยกินเวลาเพียง 1-2 วัน ตอนนี้ใช้เวลาถึง 1-2 เดือน ถึงสามารถขึ้นเรือออกจากท่าได้ กระทบไปถึงลูกค้าที่ไม่สามารถรีออร์เดอร์ได้ เพราะของเดิมยังคงค้างอยู่อีกด้วย

 

จีนเองได้รับผลกระทบจากกรณีนี้ไม่น้อยกว่าประเทศอื่น ยิ่งเมื่อคำนึงถึงการส่งสินค้าออกไปยังสหรัฐ ที่ตกเดือนละ 900,000 ทีอียู ปัญหาความล่าช้าในการกลับมาของคอนเทนเนอร์ยิ่งใหญ่หลวงมากขึ้น จนเป็นปัญหาหนักให้รัฐบาลลงมาแก้ ด้วยการร้องขอไปยังสมาคมอุตสาหกรรมคอนเทนเนอร์จีน ให้เพิ่มกำลังการผลิตคอนเทนเนอร์สำหรับขนส่งสินค้าทางทะเลมาตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีที่ผ่านมา ด้วยกำลังการผลิต 300,000 ทีอียูต่อเดือน

แต่แวดวงชิปปิ้งยังคิดไปทางร้ายว่า วิกฤตขาดแคลนคอนเทนเนอร์จะไม่คลี่คลายกลับสู่ปกติได้เร็ว ๆ นี้

 

ขณะที่อัตราค่าระวางสำหรับขนส่งทางเรือก็จะยังคงอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ไปอย่างน้อยถึงสิ้นปีนี้